เพราะโลกการทำงานมันเต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งความคิด บุคลิก และประสบการณ์ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ หลายคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อรักษาบรรยากาศในทีม แต่การเพิกเฉยต่อความขัดแย้งนั้นไม่ใช่ทางออก เพราะมันอาจทำให้ปัญหาเล็กๆ กลายเป็นความบาดหมางที่ลึกซึ้งและยากที่จะเยียวยาได้ในอนาคต
ลองนึกถึงสถานการณ์ในองค์กรหนึ่งที่พนักงานสองคนมีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องวิธีการดำเนินโปรเจกต์สำคัญ คนแรกต้องการใช้วิธีการแบบดั้งเดิมที่เคยประสบความสำเร็จ ขณะที่อีกคนเชื่อมั่นในแนวทางใหม่ที่อาจเสี่ยงแต่มีโอกาสสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทั้งสองคนต่างมีเหตุผลที่ดีของตนเอง เมื่อความคิดเห็นทั้งสองไม่สามารถหาจุดร่วมกันได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ “ความเงียบ” พวกเขาต่างหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาและสะสมความรู้สึกไม่พอใจอยู่ลึกๆ
การลดแรงเสียดทานโดยไม่มีการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา เป็นเพียงการเลี่ยงปัญหาชั่วคราว และในที่สุดความไม่พอใจที่ถูกกดทับไว้ก็จะกลับมาอีกครั้งในรูปแบบที่ซับซ้อนกว่าเดิม ผู้นำที่ดีต้องรู้ว่าการแก้ไขความขัดแย้งนั้นไม่ใช่แค่การหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ “อย่างจำใจ“ แต่ต้องสร้าง “สถานการณ์แบบ Win-Win” ที่แท้จริง ซึ่งทุกคนรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าในมุมมองของตนเอง
สถานการณ์แบบ Win-Win ไม่ใช่การยอมแพ้ หรือการทำตามความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่มันคือการหาทางออกที่สร้างคุณค่าให้กับทั้งสองฝ่าย และยังคงเป้าหมายร่วมกันของทีมและองค์กรไว้ได้
การจะทำเช่นนี้ได้ ผู้นำต้องเริ่มจากการฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของทุกฝ่าย เพราะบางครั้งสิ่งที่แสดงออกมาอาจไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง แต่คือความรู้สึก ที่ถูกละเลยหรือไม่ได้รับการยอมรับ การฟังอย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เรามองเห็นจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่ซ่อนอยู่ในความขัดแย้งนั้น
สุดท้ายแล้ว ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง แต่คือโอกาสในการพัฒนาความเข้าใจและความร่วมมือ ผู้นำที่สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างมีศิลปะ คือผู้นำที่สร้างทีมที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งและพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำได้ที่