“หัวหน้า” เปรียบเสมือน ‘เข็มทิศ’ ที่ทำหน้าที่คอยชี้นำคนทำงาน ให้เดินไปในทางที่ถูกต้อง
แต่ละคนย่อมมีแนวคิด และรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน หากเขา ‘ละเลย’ ไม่รู้จักตัวเองให้ดีมากพอ ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะสร้างทีมให้แกร่ง และก้าวไปถึง “เป้าหมาย” ที่วางไว้ได้สำเร็จลุล่วง
มาร่วมหาคำตอบ ว่าคุณเป็นผู้นำแบบไหน ในสายตาลูกน้อง? พร้อมทำความเข้าใจกับ ‘สไตล์’ การนำทีมในแบบของคุณ
🚩 เริ่มทำแบบทดสอบได้เลย!
เวลาคุณสั่งงานให้ลูกทีมลงมือทำงาน คุณมักจะ...
เมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาร่วมทีม คุณมักจะ...
เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจ คุณมักจะ...
เมื่อลูกทีมทำผิดพลาด คุณมักจะ...
เมื่อต้องเข้าประชุมร่วมกับลูกทีม คุณมักจะ...
เมื่อมีงานด่วนเข้ามา คุณมักจะ...
เมื่อต้องให้โจทย์กับลูกทีม คุณมักจะ...
สิ่งที่กระตุ้นคนทำงานได้ดีที่สุด ในความคิดของคุณคือ...
หน้าที่หลักของหัวหน้า ในความคิดของคุณคือ...
Leadership Test - คุณเป็นหัวหน้าประเภทไหน
หัวหน้าจอมเผด็จการ (Autocratic Leadership)
คุณเป็นหัวหน้าสุดเฮี๊ยบ ที่ไม่ค่อยรับฟังหรือขอคำปรึกษาจากใคร ชอบตัดสินใจและให้ลูกน้องทำตามคำสั่ง ส่วนหนึ่งเพราะคุณมีความเป็น perfectionist สูง มีภาพสิ่งที่ต้องการในหัวชัดเจน เลยรู้ว่าต้องทำอย่างไรให้ทุกอย่างออกมาไร้ที่ติ แต่อย่าปิดกั้นตัวเองมากไป เพราะคนอื่นอาจมีไอเดียดีๆ ที่คุณคิดไม่ถึงก็ได้นะ
หัวหน้าผู้เปิดใจกว้าง (Democratic Leadership)
คุณเป็นหัวหน้าที่แฟร์มาก ไม่ว่าจะโอกาสไหน คุณจะให้ลูกน้องทุกคนได้ออกความเห็นและตัดสินใจร่วมกันเสมอ คุณพร้อมให้คำแนะนำและเปิดรับต่อฟีดแบค เพราะคุณเชื่อว่าการมีส่วนร่วม เป็นวิธีเรียนรู้ ฝึกฝน และกระชับความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด แต่ก็ต้องเซ็ตลิมิตให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นงานอาจยืดเยื้อจนล่าช้าได้
หัวหน้าผู้เชื่อมั่น (Delegative Leadership)
คุณเป็นหัวหน้าที่มอบอิสระให้กับคนทำงานเต็มที่ ปล่อยฟรีให้ลูกน้องได้ค้นหาตัวเอง ได้ลองผิดลองถูก คุณจะไม่จู้จี้กับวิธีการทำงานสักเท่าไหร่ เพราะโฟกัสกับผลลัพธ์ที่ได้มากกว่า แต่ก็ต้องเช็คให้มั่นใจด้วยว่าลูกน้องมีวินัยมากพอ ไม่งั้นงานอาจจะหลุด หรือมาตรฐานไม่เท่ากันได้
หัวหน้าผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)
คุณเป็นหัวหน้าที่ทุ่มเทและใส่ใจลูกน้องสุดๆ ทุกอย่างที่คุณทำจะเน้นพัฒนาศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทำงาน คุณหาโจทย์ใหม่ๆ ที่ท้าทายฝีมือ พร้อมกระตุ้นให้ทุกคนกล้าออกจาก comfort zone แต่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอาจทำให้ลูกน้องวิ่งตามไม่ทัน จึงต้องหมั่นสื่อสารกับลูกน้องบ่อยๆ ด้วย
Share your Results: